Wiwat Surangsrirat

นพ.วิวัฒน์ สุรางค์ศรีรัฐ
Wiwat Surangsrirat

ประวัติการศึกษา
- ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปี 2512 (รุ่น 30)
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2518 (รุ่น80)
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปี 2522 (รุ่น 9)

ตำแหน่ง(ในอดีต)
- กรรมการบริหารโรงพยาบาลนครปฐม ตั้งแต่ 19 มิถุนายน 2528 จนถึง 30 มิถุนายน 2555
- หัวหน้ากลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนครปฐม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2532 จนถึง 30 มิถุนายน 2555
- ประธานชมรมออร์โธปิดิกส์ เขต 7 ตั้งแต่ ปี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 จนถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555
- ตัวแทนชมรมออร์โธปิดิกส์ เขต 7 ร่วมประชุมกับกรรมการบริหารของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยรวม 5 สมัย
- กรรมการกลางของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยจากการเลือกตั้ง 2 สมัย วาระปี 2549-2551 และปี 2551 – 2553

ตำแหน่งปัจจุบัน
ลูกจ้างรายคาบ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม

ผลงานทางวิชาการ
1. Cervical Spine Injuries, (Analysis of 104 cases). วางสารแพทย์เขต 7; ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, มค.-มีค. 2531: 9-19.
2. External Fixation with or without Internal Fixation in Pelvic Disruption. J Thai Orthopaedic Association; Vol.14, No.1, Mar 1989: 29-37.
3. Treatment of Pedicular Fractures of the Axis by Screws Fixation. วางสารแพทย์เขต 7; ปีที่ 14, ฉบับที่ 1, มค.-มีค. 2538: 33-42.
4. Laminoplasty for the Treatment of Multi-level Cervical Spondylosis with Myelopathy; วางสารแพทย์เขต 7; ปีที่ 17, ฉบับที่ 1, มค.-มีค. 2541: 91-102.

เรื่องการผ่าตัด Spine
ในระหว่างการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์ปีที่ 1 ผมได้รับการปลูกฝังทัศนคติจากภาควิชาศัลยศาสตร์ว่า “หมอต้องเป็น Safe surgeon คือ การทำผ่าตัดใดๆต้องมั่นใจว่าไม่ทำให้ผู้ป่วยแย่ลงกว่าเดิม”
ช่วงที่ผ่าน OR เล็ก ได้ช่วยทำผ่าตัด under local anesthesia กับอาจารย์เฉลิมชาติ รัตนเทพ (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) ท่านได้กล่าวไว้ว่า “Surgeon กลัว anatomy” หมายความว่า ถ้า anatomy เราแม่น เราจะทำผ่าตัดได้ดี เราจะทำผ่าตัดที่ยากๆได้โดยมี complications น้อย หรือไม่มี complications เลย การผ่าตัดหลายอย่างที่เราทำได้ไม่ดีหรือไม่กล้าทำก็เพราะความรู้ anatomy เราไม่แม่น (อาจารย์เฉลิมชาติ สามารถทำผ่าตัด spine โดยไม่ใช้จี้ไฟฟ้า สามารถทำผ่าตัด spine โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ได้)
เมื่อสำเร็จการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์แล้ว ได้มาบรรจุรับราชการที่โรงพยาบาลนครปฐม ได้พบผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อมจำนวนมากที่รักษาโดยวิธีอนุรักษ์แล้วไม่ดีขึ้น จึงได้เริ่มทำผ่าตัด Laminectomy decompression ในผู้ป่วย Degenerativ spinal stenosis และ Spondylolisthesis

จุดเริ่มต้นของการทำ Pedicular screws
เนื่องจากการทำ PL-fusion in situ ในผู้ป่วย Spondylolisthesis Gr.II, Gr.III ทำได้ยาก และถึงแม้จะมี fusion แล้ว ในระยะยาวก็ยังมีโอกาสเกิดการเลื่อนเพิ่มขึ้นได้ เกิดมีแนวคิดที่จะทำการดึงกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไปให้กลับมาอยู่ในแนวใกล้เคียงกับภาวะปกติ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ในเวลานั้น Spinal instrument ในประเทศไทยมีแต่ Harrington rods เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปลายปี 2522 จึงได้เริ่มทำผ่าตัด Gill’s operation ร่วมกับการทำ PLIF และทำ reduction of spondylolisthesis โดยใช้ 6.5 mm. full threaded cancellous screws สอดผ่าน hooks ที่เกาะอยู่บน Harrington rods ไปผ่าน pedicle ของ vertebra ทั้ง 2 ข้าง เมื่อขันสกรูไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆดูดกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไป( Spondylolisthesis) ให้ถอยกลับมาทางด้านหลังได้ 1 ระดับ
เมื่อมีการนำ Pedicular screw rods system เข้ามาในประเทศไทย จึงเป็นแพทย์กลุ่มแรกที่ได้นำมาใช้กับผู้ป่วยที่ต้องทำ Spinal PL-fusion ในผู้ป่วยที่ทำ PLIF และในผู้ป่วยที่ทำ Reduction of spondylolisthesis ได้ผลการรักษาดีขึ้นมาก โดยสามารถ reduce spondylolisthesis Gr.II, Gr.III ให้เป็น Gr.I หรือ Gr.0 ได้
เนื่องจาก Pedicular screw rods system เป็นของใหม่ สถาบันฝึกอมรมต่างๆยังมี case ทำไม่มาก แพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์มีโอกาสช่วยทำผ่าตัดน้อย ที่แน่นนอนคือไม่มีโอกาสฝึกทำเองเลย เมื่อจบการฝึกอมรมแล้ว ความรู้และประสบการณ์ยังมีไม่มาก เมื่อไปทำผ่าตัดเอง จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมาย ต้องส่งกลับมาให้อาจารย์ช่วยแก้ไข ผมเองก็มีประสบการณ์ได้รับผู้ป่วยที่เกิด complication จากการใส่ pedicular screws อยู่หลายราย ทั้งเกิดจาก inadequate spinal decompression หรือ improper instrumentation หรือ bone grafting techniqueไม่ดี ทั้งการรับ refer จากแพทย์รุ่นน้อง และที่ผู้ป่วยมาเอง
อาจารย์แพทย์ในสถาบันฝึกอบรมกลุ่มหนี่ง จึงมีแนวคิดที่จะช่วยแพทย์ออร์โธฯรุ่นใหม่ที่จบการฝึกอบรมแล้วให้มีความรู้ในการวินิจฉัยโรค และทักษะการทำผ่าตัดกระดูกสันหลัง ข้อบ่งชี้และวิธีการใช้ Pedicular screw rods system ที่ถูกต้องโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์(Experience surgeons)


ผมได้รับการชวนให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรและสาทิตการผ่าตัดในผู้ป่วยจริง(Life surgery) ในการจัดประชุม The 2nd Spine Operative Course ปี พ.ศ. 2541 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ การประชุมได้รับความสนใจเข้าร่วมประชุมจากแพทย์ออร์โธฯทั่วประเทศจำนวนมาก การบรรยายทางวิชาการเริ่มประชุมตั้งแต่ 8.00 น. และเลิกประชุมเวลา 17.00-18.00 น. ก็ยังมีผู้สนใจฟังอยู่ในห้องประชุมจำนวนมาก การสาทิตการผ่าตัดก็ได้รับความสนใจสมัครข้าช่วยผ่าตัดจำนวนมาก และมีการถ่ายทอดสด(CCTV)ให้ผู้ร่วมประชุมอื่นๆที่ไม่สามารถเข้าช่วยผ่าตัดหรือเข้าไปดูในห้องผ่าตัดอีกเป็นจำนวนมากชม โดยจะมีวิทยากรที่ยังรอทำผ่าตัดหรือทำผ่าตัดเสร็จแล้วมาช่วยบรรยายและตอบคำถามแก่ผู้ที่กำลังชม CCTV อยู่ นอกจากนี้ ยังมีแพทย์จำนวนหนึ่งที่นำ case มาปรึกษาอาจารย์บางท