Ortho Ortho
 

Main menu

  • หน้าหลัก
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • การศึกษา
    • งานประชุม
    • งานวิจัย
      • ผลงานที่ตีพิมพ์
      • งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมประจำปี
    • กิจกรรม
  • Spine Education
    • ความรู้สำหรับแพทย์
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
    • Basic spine course 2024
  • ความรู้สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติและหอเกียรติยศ
    • กรรมการบริหาร
      • กรรมการบริหารปัจจุบัน
      • กรรมการจากสถาบันต่างๆ
    • สาสน์จากประธานชมรมฯ
    • สมาชิกอนุสาขา
    • ชมรมการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    • ประวัติและผลงานอดีตประธาน
    • อาจารย์อาวุโสและผู้ทำคุณประโยชน์
    • ผลงานอนุสาขาและสมาชิก
  • ติดต่อเรา
  • หน้าหลัก
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • การศึกษา
    • งานประชุม
    • งานวิจัย
      • ผลงานที่ตีพิมพ์
      • งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมประจำปี
    • กิจกรรม
  • Spine Education
    • ความรู้สำหรับแพทย์
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
    • Basic spine course 2024
  • ความรู้สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติและหอเกียรติยศ
    • กรรมการบริหาร
      • กรรมการบริหารปัจจุบัน
      • กรรมการจากสถาบันต่างๆ
    • สาสน์จากประธานชมรมฯ
    • สมาชิกอนุสาขา
    • ชมรมการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    • ประวัติและผลงานอดีตประธาน
    • อาจารย์อาวุโสและผู้ทำคุณประโยชน์
    • ผลงานอนุสาขาและสมาชิก
  • ติดต่อเรา
  • Thai ไทย (ภาษาไทย)
  • English (UK)

ความรู้สำหรับประชาชน

ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น

นพ.ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์
ความรู้สำหรับประชาชน
16 ธันวาคม 2563

ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น
(Adolescent Idiopathic Scoliosis)
นพ.ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์
หน่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน

ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีลักษณะคดเอียงมากกว่า 10 องศาขึ้นไป พบในกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 10 – 18 ปี โดยจะพบมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 13 ถึง 15 ปี ถือเป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยรุ่น โดยพบอุบัติการณ์การเกิดหรือความชุกของภาวะนี้อยู่ที่ 0.47 – 5.2 % มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 4:1 ถึง 10:1 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น1,2 ภาวะดังกล่าว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระบบกล้ามเนื้อหรือระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพตามมาได้

สาเหตุ
ร้อยละ 80 ของภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นเป็นชนิดที่เกิดขึ้นโดยยังไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงร้อยละ 20 ที่มีสาเหตุหรือเป็นผลจากโรคบางอย่าง เช่น การถ่ายทอดภาวะทางพันธุกรรมของโรคบางชนิด หรือความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเป็นต้น2
อาการและอาการแสดง
ภาวะนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดง ส่วนมากผู้ปกครองมักพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยเรื่อง สังเกตพบว่าผู้ป่วยมีไหล่หรือสะโพกสองข้างไม่เท่ากัน รวมถึงอาจพบว่าผู้ป่วยมีสะบักข้างใดข้างหนึ่งนูนผิดปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่พบว่ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น



ภาพแสดงที่ 1. ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น แสดงให้เห็นลักษณะไหล่ขวายกสูงกว่าไหล่ซ้าย และสะโพกไม่เท่ากัน

การตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
โดยปกติในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยภาวะกระดูกสันหลังคด แพทย์จะทำการส่งตรวจวินิจฉัยโดยการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา (posteroanterior and lateral 36- x14-inch long cassette views) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ตลอดจนติดตามแนวโน้มความคดเอียงของกระดูกสันหลังจากการรักษาแบบสังเกตอาการ รวมไปถึงช่วยในการพิจารณาแนวทางและวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วยรายนั้นๆได้อย่างถูกต้องเหมาะสม



ภาพแสดงที่ 2. แสดงภาพถ่ายทางรังสีวิทยาเปรียบเทียบภาวะกระดูกสันหลังคด (ภาพซ้าย) และภาวะปกติของกระดูกสันหลัง (ภาพขวา)

แนวทางการรักษา
หลักการรักษาภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อหลักๆ ได้แก่
   1. หยุดยั้งความคดเอียงของกระดูกสันหลังที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นได้ในอนาคตรวมถึงการแก้ไขความคดเอียงนั้นๆ
   2. รักษาความสมดุลย์ของโครงสร้างกระดูกสันหลัง
   3. คงไว้ซึ่งความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลังให้ได้มากที่สุด
สำหรับการรักษาภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่
   1. การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด (Conservative treatment) แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีย่อย คือ
      1.1 การสังเกตอาการ (Observation)
เหมาะสำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่มีความคดเอียงของกระดูกสันหลัง ไม่เกิน 20 องศา
      1.2 การใส่ชุดอุปกรณ์ค้ำยัน (Bracing)
ชุดอุปกรณ์ค้ำยัน (Bracing) ไม่สามารถแก้ไขภาวะคดเอียงของกระดูกสันหลังได้ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันหรือหยุดยั้งการคดเอียงที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้ การรักษาวิธีนี้ เหมาะสำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่มีความคดเอียงของกระดูกสันหลังในช่วง 20 องศาขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40 องศา

   2. การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgical treatment)
ในกรณีที่การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดไม่เป็นผล หรือได้มีการติดตามการรักษาแล้วพบว่าผู้ป่วยมีภาวะกระดูกสันหลังที่คดเอียงมากกว่า 45 องศา อาจพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยมีหลักการในการรักษา เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังคดให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาวะปกติให้มากที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด สำหรับวิธีการผ่าตัดในปัจจุบัน จะเป็นในลักษณะการผ่าตัดแก้ไขความคดเอียงของกระดูกสันหลังร่วมกับการใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกสันหลังและทำการเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังในตำแหน่งเดียวกัน

ภาพแสดงที่ 3. เปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาคและภาพรังสีวินิจฉัยก่อนและหลังผ่าตัดภาวะกระดูกสันหลังคด


เอกสารอ้างอิง
   1. Konieczny MR, Senyurt H, Krauspe R. Epidermiology of adolescent idiopathic scoliosis. J Child Orthop 2013; 7:3-9
   2. Silva FE, Lheman Jr RA, Lenke LG. Chapter 23: Idiopathic Scoliosis. In: Herkowitz HN, Garfin SR, Eismont FJ, Bell GR, Balderston RA. Rothman-Simone The Spine 6th Edition. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders; 2011. P. 385-401

 

อ่านความรู้เพิ่มเติม

  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมสภาพ ตอนที่ ๑: สาเหตุและอาการของโรค
  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมสภาพ ตอนที่ ๒: การวินิจฉัยและการรักษา
  • ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น
  1. คุณอยู่ที่:  
  2. หน้าแรก
  3. ความรู้สำหรับประชาชน
  4. ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
  • 02-716-5436-7
  • sst@rcost.or.th
copyright © 2021 Spine Society of Thailand All rights reserved. Develop by MP Graphichouse co.,ltd.

Gen Joomla Template by ThemeXpert